Wednesday, July 30, 2008

โปรตีน และองค์ประกอบทั้งหมด

โปรตีน

โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญในการเจริญเติบโต ช่วยในการสร้างโครงกระดูก กล้ามเนื้อ และเป็นส่วนประกอบหลัก ของอวัยวะต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ตับ ลำไส้ ไต เป็นต้น

สารอาหารโปรตีนมีประโยชน์ ดังนี้
1. ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ฝเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และกระดูก
2. ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
3. ช่วยให้สมองเจริญเติบโต
4. ช่วยสร้างภูมิต้านทานแก่ร่างกาย
แหล่งอาหารที่ให้โปรตีน ได้แก่ อาหารที่มาจากสัตว ์ เช่น นม ไข่ เนื้อ ตับ หรืออาหารพวกพืช เช่น ข้าว และถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง

โปรตีน คือ สารชีวโมเลกุลประเภทสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H, O, N เป็นองค์ประกอบสำคันอกจากนั้นยังมีธาตุอื่น ๆ เช่น S, P, Fe, Zn ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีน โปรตีน เป็นสารพวกพอลิเมอร์ ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากมาย
สมบัติของโปรตีน
1. การละลายน้ำ ไม่ละลายน้ำ บางชนิดละลายน้ำได้เล็กน้อย
2. ขนาดโมเลกุล และมวลโมเลกุล ขนาดใหญ่มีมวลโมเลกุลมาก
3. สถานะ ของแข็ง
4. การเผาไหม้ เผาไหม้มีกลิ่นไหม้
5. ไฮโดรลิซิส
6. การทำลายธรรมชาติ โปรตีนบางชนิดเมื่อได้รับความร้อน หรือเปลี่ยนค่า pH หรือเติมตัวทำลายอินทรีย์บางชนิด จะทำให้เปลี่ยนโครงสร้างจับเป็นก้อนตกตะกอน
7. การทดสอบโปรตีน
สารละลายไบยูเรต เป็นสารละลายผสมระหว่าง CuSO4 กับ NaOH เป็นสีฟ้า


โครงสร้างกรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) ประกอบด้วยอะตอมของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจนและไนโตรเจนนอกจากนี้บางชนิด
อาจประกอบด้วยอะตอมของธาตุอื่นๆ อีก เช่น ฟอสฟอรัส เหล็กและกำมะถัน เป็นตัน
กรดอะมิโนแต่ละชนิดสามารถต่อกันได้ด้วยพันธะโคเวเลนท์ที่มีชื่อเฉพาะว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond) โครงสร้างซึ่ง
ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ต่อกันเป็นสายนี้เรียกว่า เพปไทด์
พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนท์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึด
กับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง


สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน
อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้




โปรตีนและความสำคัญของโปรตีน
โปรตีน คำว่า "โปรตีน" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกที่แปลว่า"สิ่งสำคัญอันดับแรก" โปรตีนเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย 1 ใน 5ส่วนของน้ำหนักตัวผู้ใหญ่คือโปรตีน และส่วนของโปรตีนในร่างกายจะพบในกล้ามเนื้อ 1/5 ส่วนพบในกระดูกและกระดูกอ่อน และ 1/10 ส่วนพบในผิวหนัง ส่วนที่เหลือพบในเนื้อเยื่อต่างๆ ของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด ต่อมต่างๆ เซลล์ภูมิคุ้มกันและเนื้อเยื่อประสาท แม้กระทั่งเส้นผมเล็ก เอ็นไซม์ และฮอร์โมน ล้วนแต่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น โปรตีนและกรดอะมิโน หากเปรียบโปรตีนคือสายโซ่ กรดอะมิโนก็คือห่วงโซ่ ซึ่งแต่ละห่วงที่มาประกอบเป็นโซ่สายยาวคือโปรตีนนั่นเอง กรดอะมิโนจะมีหลากหลายชนิดแตกต่างกัน โปรตีน 1 โมเลกุลประกอบด้วยกรดอะมิโนที่แตกต่างกันได้ตั้งแต่ 100 หรือ 1,000 กรดอะมิโน โปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่ยังพบว่ามีประชากรเป็นจำนวนมากที่มีภาวะขาดโปรตีน ซึ่งโดยมากมักจะพบการขาดกรดอะมิโนเมไธโอนีน ทริพโตเฟน และไลซีน

โปรตีน
ความสำคัญของโปรตีน
สร้างเนื้อเยื่อต่างๆและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ในอวัยวะต่างๆ
เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย และฮอร์โมน
เป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่สามารถต้านทานโรค
ให้พลังงาน คือ โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี
ร่างกายสามารถใช้โปรตีนแทนคาร์โบไฮเดรตได้
การจำแนกประเภทของโปรตีน
1.โปรตีนแบ่งตามหน้าที่ได้เป็นหลายชนิด
1.1 เอนไซม์ (enzyme) มีหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เอนไซม์ ในกระบวนการหายใจ การสังเคราะห์โปรตีน
ถ้าเอนไซม์ทำหน้าที่ย่อยอาหารจะเรียกว่า น้ำย่อย เช่น อะไมเลส เพปซินไลเปส
1.2 โปรตีนขนส่ง (transport protein ) ได้แก่ โปรตีนที่ทำหน้าที่ในการขนส่งสารต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เฮโมโกลบิน
(hemoglobin)ขนส่งออกซิเจนในเลือดไมโอโกลบิน (myoglobin) ช่วยลำเลียงออกซิเจนในเซลล์กล้ามเนื้อลาย อัลบูมิน(albumin ) ช่วยขนส่งไขมัน
1.3 โปรตีนโครงสร้าง (structural protein ) เป็นองค์ประกอบของโครงสร้าง ของร่างกาย เช่น เคราทิน (keratin ) ในเส้นผม
และขนสัตว์ คอลลาเจน (collagen ) ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และกระดูกโปรตีน พวกนี้จะมีกรดอะมิโน ซีสเทอีน ซึ่งมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ
อยู่มากทำให้คงตัวมาก
1.4 โปรตีนสะสม (storage protein) เป็นโปรตีนที่สะสมเป็นคลังอาหาร เช่น อัลบูมินในไข่ (albumin)
1.5 โปรตีนฮอร์โมน (protein hormone) เป็นโปรตีนที่ควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ เช่น อินซูลิน (insulin)
ฮอร์โมนโกรท (growth hormone) ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (thyroid stimulating hormone )
1.6 โปรตีนป้องกัน (protective protein) เป็นโปรตีนที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับอันตรายหรือเกิดการเจ็บป่วย เช่น แอนดีบอดี
(antibody )ช่วยกำกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โปรตีนโพรทรอมบิน (prothrombin) และไพบริโนเจน (fibrinogen) ช่วยในการแข็งตัว
ของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
1.7 โปรตีนเคลื่อนไหว (contractile protein) เป็นโปรตีนที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ เช่น โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบ
ของไมโครทูบูล (microtubule ) ซีเลีย (cilia) แฟลเจลลา (flagella )โปรตีนในเซลล์กล้ามเนื้อ ได้แก่ แอกทิน (actin ) และไมโอซิน (myosin)
1.8 พิษ (toxin) เป็นโปรตีนที่เป็นสารพิษต่าง ๆ เช่น พิษงู พิษจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
2. โปรตีนแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
2.1 โปรตีนอย่างง่าย (simple protein) เป็นโปรตีนที่เมื่อสลายตัวหรือเกิดไฮโดรไลซิสแล้วจะได้กรดอะมิโนอย่างเดียว เช่น
โกลบูลิน (globulin ) อัลลูมิน (albumin) เคราทิน (keratin) กลูเทลิน (glutelin)
2.2 โปรตีนประกอบ (compound protein ) หรือ คอนจูเกดโปรตีน (conjugate protein) ซึ่งเรียกว่าหมู่พรอสเทติก
(prosthetic group) ได้แก่ นิวคลีโอโปรตีน (nucteoprotein ) ประกอบด้วยโปรตีนและกรดนิวคลีอิก เช่น ไรโบโซนเป็นโปรตีนที่อยู่รวมกับ
RNA โครโมโซมเป็นโปรตีนที่อยู่รวมกับ DNA
ลิโพโปรตีน (lipoprotein ) เป็นโปรตีนที่อยู่รวมกับลิพิด เช่น โปรตีนในน้ำเลือด ในไข่แดง
ฟอสโฟโปรตีน (phosphoprootin ) เป็นโปรตีนที่อยู่รวมกับหมู่ฟอสเฟต เช่น โปรตีนเคซีนในนม โอโวไวเทลลิน (ovovitellin )
ในไข่แดง
ไกลโคโปรตีน (glycoprotein ) มีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย เช่น โปรตีนเมือก (mucoprotein )
2.3 อนุพันธ์ของโปรตีน (derived protein ) เป็นโปรตีนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพธรรมชาติ เช่น ถูกกรด
ถูกย่อยสลาย เช่น โปรตีนโอส (proteose ) เพปโตน (peptone ) โปรตีนในไข่ขาว ซึ่งปกติใสแต่เมื่อถูกความร้อนจะเป็นสีขาว เป็นต้น

geovisit();

โรคขาดโปรตีน
สาเหตุ เกิดจาการขาดสารอาหารโปรตีน
อาการ
ระยะแรก หลังเท้าเริ่มบวม จนในที่สุดก็บวมทั้งตัว อาจบวมมากจนมีน้ำในช่องท้องและช่องปอด ทำให้หายใจขัด
ผิวหนังจะเกรียมเป็นสีดำไหม้ มีรอยแตกตามบริเวณที่ถูกเสียดสี ทำให้แบคทีเรียเข้าสู่รอยแตก
ผมจะแห้งกรอบ ร่วงง่าย
เบื่ออาหาร ซึม
มีการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบภายในเซลล์ทุกเซลล์ของระบบต่างๆ เมื่อถึงกรณีนี้ แพทย์ก็ไม่สามารถรักษาได้
การป้องกัน
เพิ่มอาหารโปรตีน และลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ส่งเสริมการเลี้ยงทารกให้ถูกต้อง